ป้ายกำกับ: Beginner

  • Visual Basic Editor

    Visual Basic Editor

    เคยใช้ Visual basic Editor หรือไม่? จะเริ่มกันอย่างไร? เปิดตรงไหน? ต้องไปเมนูไหน?

    สวัสดี ท่านผู้เจริญที่ประสงค์จะใช้งานเอ็กเซล“อีกระดับ”! วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการเข้าถึงเครื่องมือสำหรับเขียน / ปรับแต่ง VBA พื้นฐานสำหรับการสร้างเครื่องมือสำหรับทำงานอัตโนมัติ (มาโคร) เพื่อทำให้งานของท่านทำงานสบายขึ้น

    มาเริ่มกันเลย! (วิดีโอประกอบด้านล่าง)

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชัน TRIM

    ฟังก์ชัน TRIM

    ฟังก์ชัน TRIM เป็นฟังก์ชันที่ช่วยลบช่องว่าง ในช่วงหัวและท้ายออกจากข้อความ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการตัดแต่งข้อมูลเพื่อเตรียมตัวทำงานในขั้นต่อไปได้อย่างดี

    Excel เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล แต่บางครั้งข้อมูลที่คุณนำเข้าหรือป้อนอาจมีช่องว่างที่ไม่ต้องการ ซึ่งทำให้การเรียงลำดับหรือการกรองทำได้ยาก แต่ Excel มีฟังก์ชันง่ายๆ ช่วยลบช่องว่างที่ไม่ต้องการเหล่านี้ ฟังก์ชันนี้เรียกว่า TRIM

    TRIM คืออะไร?

    ถ้าจะให้แปลตรงตัวก็คือ “เล็ม” หรือตัดแต่ง และฟังก์ชั่นนี้ก็ทำหน้าที่ตรงตัวตามความหมายของมัน นั่นคือ “ตัดแต่ง” เพียงแต่เป็นการตัดช่องว่างที่อยู่หน้าหรือหลังข้อความออกไป

    อันนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ที่เราเห็นเป็นช่องว่าง แต่ในคอมพิวเตอร์ จะถือว่าเป็น อักขระ ตัวหนึ่ง ช่องว่างก็คือ space charactor

    CODE
    ช่องว่าง หรือ space charactor มีค่าลำดับ ascii = 32

    สมมติว่าท่านทำงานโดยใช้ Excel ติดตามชื่อบริษัทลูกค้าและข้อมูลต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาจัดเรียงลำดับเพื่อให้เห็นข้อมูลในภาพกว้าง หรือว่าทำ PivotTable ท่านอาจจะพบปัญหาว่า ชื่อลูกค้าบางรายไม่อยู่ในลำดับหรือกลุ่มที่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่ามีช่องว่างเพิ่มเติมที่ด้านหน้าหรือด้านหลัง

    สิ่งนี้เป็นปัญหา เมื่อทำงานด้วยการจัดเรียงข้อมูล หรือว่า จัดกลุ่ม หรือ PivotTable

    TRIM
    ตัวอย่างจะเห็นคำว่า Ling มาอยู่ด้านบนเมื่อมีการเรียงลำดับข้อมูล ซึ่งกลายเป็นอันดับแรก เพราะว่ามีช่องว่างอยู่ด้านหน้า

    แต่การลบช่องว่าง หรือ space นี้ ทำได้ง่ายดายเมื่อท่านใช้ฟังก์ชัน TRIM

    วิธีใช้ ฟังก์ชัน TRIM

    การใช้ ฟังก์ชันนี้ มีไม่กี่ขั้นตอน

    ขั้นตอนที่ 1: เลือกเซลล์ที่ท่านต้องการ

    ขั้นตอนที่ 2: สร้างอีกคอลัมน์ เพื่อพิมพ์สูตรฟังก์ชัน 

    ไวยากรณ์ของฟังก์ชัน TRIM เป็นดังนี้:

    =TRIM(ข้อความ)

    อาร์กิวเมนต์ “ข้อความ” คือการอ้างอิงเซลล์หรือสตริงข้อความที่คุณต้องการตัดแต่ง

    จากตัวอย่าง เราเพียงแค่เลือกคอลัมน์ที่มีชื่อลูกค้า สมมติว่า ชื่อลูกค้าอยู่ในคอลัมน์ C ในคอลัมน์ใหม่ ให้พิมพ์สูตร

    =TRIM(C2)

    ขั้นตอนที่ 3: กด Enter เพื่อให้ฟังก์ชันทำงาน Excel จะลบช่องว่างเพิ่มเติมที่จุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของชื่อลูกค้าแต่ละราย

    ฟังก์ชัน TRIM

    คัดลอกสูตรลงไปเพื่อใช้กับชื่อลูกค้าทั้งหมดในคอลัมน์

    เมื่อลบช่องว่างเพิ่มเติมทั้งหมดแล้ว สามารถใช้ชื่อลูกค้าที่ล้างข้อมูลเพื่อไปทำงานอื่น ๆ เช่น สรุปผลการทำงาน หรือวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

    อย่าลืมว่าฟังก์ชันนี้ จะลบเฉพาะช่องว่างด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น หากข้อความของท่านมีช่องว่างพิเศษระหว่างคำที่ต้องการลบออก อาจจะต้องใช้ผสมผสานกับฟังก์ชันอื่น เช่นฟังก์ชัน SUBSTITUTE เพื่อช่วยจัดการ


    แหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ไมโครซอฟต์

  • XOR (Function)

    XOR (Function)

    XOR หรือ Exclusive Or เป็นฟังก์ชัน Logical คล้ายคลึงกับการใช้ OR แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่แตกต่างกันบ้าง เล็กน้อย

    XOR

    XOR(เงื่อนไข1, [เงื่อนไข2],…)

    ก็เหมือนกับ OR นั่นคือ ต้องระบุตรรกะ อย่างน้อย 1 ค่า และจะส่งลัพธ์การทดสอบออกมาเป็น True หรือ False เท่านั้น

    (เราสามารถใช้เงื่อนไขได้ถึง 254 เงื่อนไข)

    อาร์กิวเมนต์จะต้องสามารถหาค่าเป็นค่าตรรกะได้ เช่น TRUE หรือ FALSE หรืออยู่ใน อาร์เรย์ หรือการอ้างอิงที่มีค่าตรรกะ

    ถ้าอาร์กิวเมนต์อาร์เรย์หรืออาร์กิวเมนต์การอ้างอิงเป็นเซลล์ข้อความหรือเซลล์ว่าง ค่าเหล่านั้นจะถูกละเว้นไป

    ถ้าช่วงที่ระบุไม่มีค่าตรรกะ XOR จะส่งผลลัพธ์เป็น #VALUE! (ค่าผิดพลาด)

    OR VS XOR

    ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกับ ฟังก์ชัน OR อย่างมาก แต่ในความเป็นจริง จะมีบางอย่างไม่เหมือนกัน จะยกตัวอย่างดังนี้

    สำหรับ OR นั้น จะให้ผลลัพธ์เป็นจริง (True) แค่มี 1 เงื่อนไขที่เป็นจริงก็พอแล้ว

    แต่ Exclusive Or นั้น ถ้าจำนวนเงื่อนไขที่เป็นจริง (True) เป็นเลขคี่ จะให้ผลลัพธ์เป็น จริง

    ถ้าจำนวนเงื่อนไขที่เป็นจริง (True) เป็นเลขคู่ หรือ จะให้ผลลัพธ์เป็น เท็จ

    อ้าว งง งงละสิ ตอนที่เห็นข้อกำหนดของฟังก์ชันนี้แรก ๆ ก็งงเหมือนกัน

    ก่อนอื่น ดูภาพประกอบก่อน ตัวอย่างนี้สร้างเงื่อนไขมา 4 เงื่อนไข โดยให้ค่า True / False  ตามที่เห็น

    XOR
    ตัวอย่างความแตกต่างระหว่าง OR และ XOR

    ดูที่ลำดับที่ 1 จากเงื่อนไข 4 เงื่อนไข เป็น True ทั้ง 4 เงื่อนไข ถ้าเป็นฟังก์ชัน OR จะเป็น True (เพราะสำหรับ OR แล้ว ถ้ามีเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเป็น True ก็จะเป็น True ทั้งหมด ดังนั้น ในลำดับที่ 1 – 4 ผลลัพธ์ของ OR จะเป็น True ทั้งหมด เพราะมีเงื่อนไขที่เป็น True อย่างน้อย 1 เงื่อนไข

    แต่ในลำดับที่ 1 ถ้าใช้ฟังก์ชัน XOR ก็จะได้ False เพราะว่า จำนวนเงื่อนไขที่เป็นจริง (True) เป็นเลขคู่ (คือ 4 เงื่อนไขเป็น True)เช่นเดียวกับลำดับที่ 3 ซึ่งมี 2 เงื่อนไขเป็น True จึงได้ผลลัพธ์เป็น False

    ในขณะที่ ลำดับที่ 2 และ 4 มีเงื่อนไขที่เป็น True 3 และ 1 เงื่อนไข ซึ่งเป็นจำนวนเงื่อนไขเลขคี่ จึงให้ผลลัพธ์เป็น True

    แล้วการวางลำดับ คู่ คี่ มีไว้ทำไม? แล้วใครจะเป็นคนใช้

    นั่นสิ พอลองค้นหาใน google ก็เห็นว่าไปในทางการเขียนโปรแกรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น

    https://blog.loginradius.com/engineering/how-does-bitwise-xor-work/

    แต่จะเทียบอย่างนี้

    สมมติเหตุการณ์ทดสอบความมีสติของเรา ด้วยสถานการณ์ 3 อย่างคือ

    ฝนตกหรือไม่ / เราอยู่ในบ้านหรือเปล่า / และ เรากางร่มหรือเปล่า

    โดยสรุปผลเป็น “ถูกแล้ว” ถ้าเป็น True และ “บ้าเปล่า?” ถ้าเป็น False

    XOR

    ดูสถานการณ์แรก ฝนตก อยู่ในบ้าน เรากางร่ม ผลลัพธ์ก็จะเป็น “บ้าเปล่า?” ใครจะไปกางร่มในบ้านตอนฝนตก? จริงมั้ยครับ อันนี้ดู make sense หน่อย แต่จะใช้ฟังก์ชันไหนก็ไม่ต่างกัน

    แต่มาดูอีก 2 สถานการณ์

    ฝนตก เราอยู่ในบ้าน โดยไม่กางร่ม ผลลัพธ์ก็จะเป็น “ถูกแล้ว” เราจะไปกางร่มทำไม หรือ เราจะออกนอกบ้านทำไมให้เปียกเปล่า ๆ

    หรือ

    ฝนตก เราอยู่นอกบ้าน กางร่ม ผลลัพธ์ก็จะเป็น “ถูกแล้ว” ถึงจะฝนตก และ อยู่นอกบ้าน แต่อย่างน้อยก็มีร่มกันฝน

    2 สถานการณ์นี้ ถ้าเราใช้ OR จะกลายเป็น “บ้าเปล่า?” เพราะ มีเงื่อนไขหนึ่งเป็น True

    พอเป็นแบบนี้ การใช้ Exclusive Or ก็ดูสมเหตุผลขึ้นมาทันที

  • วันที่ใน excel (DATE)

    วันที่ใน excel (DATE)

    วันที่ – DATE ใน excel เป็นเรื่องจุกจิกมากเวลาทำงานกับไฟล์จากหลายแหล่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องการทำงานกับวันที่ใน Excel ให้ชัดเจน

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชันนับ ประเภทต่าง ๆ Count Counta Countblank

    ฟังก์ชันนับ ประเภทต่าง ๆ Count Counta Countblank

    ฟังก์ชันนับ มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น COUNT / COUNTA / COUNTBLANK ทั้ง 3 ฟังก์ชัน ใช้สำหรับการนับจำนวนเซลล์ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยว่าจะ “นับอะไร” แค่นั้น

    ฟังก์ชันนับ COUNT

    COUNT เป็นฟังก์ชันตามชื่อของฟังก์ชันนี้เลย คือ “นับ” เมื่อใช้ฟังก์ชัน COUNTจะเป็นการจำนวนเซลล์ เป็นฟังก์ชันง่าย ๆ และเป็นฟังก์ชันพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับ Excel

    สำหรับการใช้ฟังก์ชัน Count เราเขียนสูตรง่าย ๆ ดังนี้

    COUNT  (ตัวเลข1, ตัวเลข2,...)

    สิ่งที่ต้องรู้ก่อนก็คือ Count จะเป็นฟังก์ชันที่นับจำนวนเซลล์ที่มีค่าเป็นตัวเลขเท่านั้น จะไม่นับที่เป็นข้อความ หรือเซลล์ที่ว่างไม่มีค่าเป็นตัวเลข

    ตัวอย่างเช่น ในเซลล์ A1 ถึง A9 เรากำหนดค่าไว้ดังนี้ 1 | 2 | 22/12/2022 | 4 | ว่าง | SIX | 7 | ‘8 | 9

    เมื่อเราเขียนสูตรเพื่อนับจำนวน A1 ถึง A9 จะเขียนแบบนี้

    COUNT(A1:A9)
    ฟังก์ชันนับ

    และจะได้ผลลัพธ์เป็น 6 

    นั่นคือนับเฉพาะ 1 | 22/12/2022 | 0 | 4 | 7 | 9 เท่านั้น

    มาดูที่ A2 เป็นวันที่ แต่นับด้วย เพราะ อย่าลืมว่า การจัดเก็บวันที่ของ Excel จัดเก็บตัวเลข 

    A5 ไม่ใส่ค่าใดใด จึงไม่นับ

    A6 เป็นข้อความ ไม่นับ

    A8 เป็นตัวเลขที่ใส่ ‘ นำหน้าเพื่อบังคับเป็น Text หรือ ข้อความ จึงไม่นับ

    A9 เป็นตัวเลขที่จัดรูปแบบเป็น text หรือข้อความ นับ

    สรุปง่าย ๆ ก็คือ

    จะนับเซลล์ที่มีค่าที่แปลงเป็นตัวเลขได้ เท่านั้น จึงนับรวม วันที่ หรือ การจัดรูปแบบ ด้วย

    หากต้องการนับค่าตรรกะ ข้อความ หรือค่าความผิดพลาด นอกเหนือจากตัวเลขด้วย ให้ใช้ฟังก์ชัน COUNTA

    COUNTA

    COUNTA เป็นฟังก์ชันแบบเดียวกับ COUNT เพียงแต่นับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเลขด้วย วิธีการเขียนสูตรก็เหมือนกัน คือ

    COUNTA (ตัวเลข1, ตัวเลข2,...)

    จากตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนจาก COUNT เป็น COUNTA 

    COUNTA(A1:A9)
    ฟังก์ชันนับ

    ผลลัพธ์จะเป็น 8 นั่นคือ เซลล์ที่มีค่าจะนับทั้งหมด มีเพียง A5 ที่ไม่ใส่ค่าใดใด จึงไม่นับเซลล์นี้

    ความแตกต่างของ COUNT กับ COUNTA อยู่ที่ COUNT จะนับเฉพาะเซลล์ที่เก็บค่าที่เป็นตัวเลข ส่วน COUNTA จะนับเซลล์ที่เก็บทุกค่า ยกเว้นเซลล์นั้นเป็นเซลล์ที่ไม่ได้ใส่ค่าใดใดลงไป

    ถ้าอยากให้นับเซลล์ว่าง ต้องใช้ COUNTBLANK

    COUNTBLANK

     ฟังก์ชัน COUNTBLANK ก็ตามชื่อเลย เป็นการนับเซลล์ว่าง วิธีการเขียนสูตรโดยใช้ฟังก์ชันนี้ ก็เหมือนกับ COUNT นั่นคือ

    COUNTBLANK (ช่วงข้อมูล)

    อย่างเช่นตัวอย่างเดิม เราจะนับจำนวนเซลล์ที่ไม่ใส่ค่าใดใดเลย จะเขียนสูตรว่า 

    COUNTBLANK (A1:A9)

    ผลลัพธ์จะได้เป็น 1 คือมีค่าว่าง อยู่เพียง 1 เซลล์

    ทั้งนี้ ค่าที่เป็น 0 ถือว่ามี “ค่า” จะไม่โดนนับไปด้วย


  • ABS ฟังก์ชันหาค่าสัมบูรณ์

    ABS ฟังก์ชันหาค่าสัมบูรณ์

    ABS ไม่ใช่ระบบเบรค แต่ย่อมาจาก ABSOLUTE เป็นฟังก์ชันใน Excel สำหรับส่งกลับค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข หรือพูดง่าย ๆ ทำค่าติดลบให้กลายเป็นค่าบวกนั่นเอง

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชัน SUM สำหรับการรวมหรือการบวก

    ฟังก์ชัน SUM สำหรับการรวมหรือการบวก

    ฟังก์ชัน SUM เป็นฟังก์ชันสำหรับการ “รวม” หรือ บวก นั่นเอง เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันพื้นฐานที่ใครก็ต้องใช้

    (เพิ่มเติม…)
  • Excel Interface

    Excel Interface

    Excel Interface จะเขียนถึง หน้าตาของ Excel ว่าตรงไหนเรียกว่าอะไร และจะใช้ทำอะไรบ้าง

    (เพิ่มเติม…)
  • Excel File Formats: เอ็กเซลสนับสนุนไฟล์ประเภทไหน

    Excel File Formats: เอ็กเซลสนับสนุนไฟล์ประเภทไหน

    Excel File Formats จะกล่าวถึงประเภทของไฟล์ หรือ extension (หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “นามสกุล”) โดยจะเน้นประเภทที่ Excel ยังสนับสนุนให้ใช้งานอยู่

    Microsoft Excel เป็นซอฟต์แวร์สำหรับทำงานในรูปแบบตารางคำนวณ หรือ Spreadsheet คือเอาไปใช้งานคำนวณ กรองข้อมูล หรือ จะสรุปข้อมูลต่าง ๆ ก็ได้ และช่วงหลัง ทางไมโครซอฟต์พัฒนาศักยภาพของซอฟต์แวร์นี้มากขึ้น จนมีคนนำไปใช้ทำเป็น databaseแทน Microsoft Access ก็มี

    (เพิ่มเติม…)