ป้ายกำกับ: Principles

  • Visual Basic Editor

    Visual Basic Editor

    เคยใช้ Visual basic Editor หรือไม่? จะเริ่มกันอย่างไร? เปิดตรงไหน? ต้องไปเมนูไหน?

    สวัสดี ท่านผู้เจริญที่ประสงค์จะใช้งานเอ็กเซล“อีกระดับ”! วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการเข้าถึงเครื่องมือสำหรับเขียน / ปรับแต่ง VBA พื้นฐานสำหรับการสร้างเครื่องมือสำหรับทำงานอัตโนมัติ (มาโคร) เพื่อทำให้งานของท่านทำงานสบายขึ้น

    มาเริ่มกันเลย! (วิดีโอประกอบด้านล่าง)

    (เพิ่มเติม…)
  • Operators

    Operators

    Operators หรือตัวดำเนินการ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ พวก บวก ลบ คูณ หาร นั่นแหละ แต่ใน Excel จะมีมากกว่านั้นนิดหน่อย ในบล็อกนี้อยากจะเขียนเพื่อเป็นการอ้างอิงในภายหลัง ถึงประเภทต่าง ๆ ของตัวดำเนินการ

    เราจะแบ่งประเภทตัวดำเนินการออกเป็น 4 ประเภท arithmetic, comparison, text concatenation, และ reference เรามาดูทีละอัน

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชัน TRIM

    ฟังก์ชัน TRIM

    ฟังก์ชัน TRIM เป็นฟังก์ชันที่ช่วยลบช่องว่าง ในช่วงหัวและท้ายออกจากข้อความ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการตัดแต่งข้อมูลเพื่อเตรียมตัวทำงานในขั้นต่อไปได้อย่างดี

    Excel เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล แต่บางครั้งข้อมูลที่คุณนำเข้าหรือป้อนอาจมีช่องว่างที่ไม่ต้องการ ซึ่งทำให้การเรียงลำดับหรือการกรองทำได้ยาก แต่ Excel มีฟังก์ชันง่ายๆ ช่วยลบช่องว่างที่ไม่ต้องการเหล่านี้ ฟังก์ชันนี้เรียกว่า TRIM

    TRIM คืออะไร?

    ถ้าจะให้แปลตรงตัวก็คือ “เล็ม” หรือตัดแต่ง และฟังก์ชั่นนี้ก็ทำหน้าที่ตรงตัวตามความหมายของมัน นั่นคือ “ตัดแต่ง” เพียงแต่เป็นการตัดช่องว่างที่อยู่หน้าหรือหลังข้อความออกไป

    อันนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ที่เราเห็นเป็นช่องว่าง แต่ในคอมพิวเตอร์ จะถือว่าเป็น อักขระ ตัวหนึ่ง ช่องว่างก็คือ space charactor

    CODE
    ช่องว่าง หรือ space charactor มีค่าลำดับ ascii = 32

    สมมติว่าท่านทำงานโดยใช้ Excel ติดตามชื่อบริษัทลูกค้าและข้อมูลต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาจัดเรียงลำดับเพื่อให้เห็นข้อมูลในภาพกว้าง หรือว่าทำ PivotTable ท่านอาจจะพบปัญหาว่า ชื่อลูกค้าบางรายไม่อยู่ในลำดับหรือกลุ่มที่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่ามีช่องว่างเพิ่มเติมที่ด้านหน้าหรือด้านหลัง

    สิ่งนี้เป็นปัญหา เมื่อทำงานด้วยการจัดเรียงข้อมูล หรือว่า จัดกลุ่ม หรือ PivotTable

    TRIM
    ตัวอย่างจะเห็นคำว่า Ling มาอยู่ด้านบนเมื่อมีการเรียงลำดับข้อมูล ซึ่งกลายเป็นอันดับแรก เพราะว่ามีช่องว่างอยู่ด้านหน้า

    แต่การลบช่องว่าง หรือ space นี้ ทำได้ง่ายดายเมื่อท่านใช้ฟังก์ชัน TRIM

    วิธีใช้ ฟังก์ชัน TRIM

    การใช้ ฟังก์ชันนี้ มีไม่กี่ขั้นตอน

    ขั้นตอนที่ 1: เลือกเซลล์ที่ท่านต้องการ

    ขั้นตอนที่ 2: สร้างอีกคอลัมน์ เพื่อพิมพ์สูตรฟังก์ชัน 

    ไวยากรณ์ของฟังก์ชัน TRIM เป็นดังนี้:

    =TRIM(ข้อความ)

    อาร์กิวเมนต์ “ข้อความ” คือการอ้างอิงเซลล์หรือสตริงข้อความที่คุณต้องการตัดแต่ง

    จากตัวอย่าง เราเพียงแค่เลือกคอลัมน์ที่มีชื่อลูกค้า สมมติว่า ชื่อลูกค้าอยู่ในคอลัมน์ C ในคอลัมน์ใหม่ ให้พิมพ์สูตร

    =TRIM(C2)

    ขั้นตอนที่ 3: กด Enter เพื่อให้ฟังก์ชันทำงาน Excel จะลบช่องว่างเพิ่มเติมที่จุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของชื่อลูกค้าแต่ละราย

    ฟังก์ชัน TRIM

    คัดลอกสูตรลงไปเพื่อใช้กับชื่อลูกค้าทั้งหมดในคอลัมน์

    เมื่อลบช่องว่างเพิ่มเติมทั้งหมดแล้ว สามารถใช้ชื่อลูกค้าที่ล้างข้อมูลเพื่อไปทำงานอื่น ๆ เช่น สรุปผลการทำงาน หรือวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

    อย่าลืมว่าฟังก์ชันนี้ จะลบเฉพาะช่องว่างด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น หากข้อความของท่านมีช่องว่างพิเศษระหว่างคำที่ต้องการลบออก อาจจะต้องใช้ผสมผสานกับฟังก์ชันอื่น เช่นฟังก์ชัน SUBSTITUTE เพื่อช่วยจัดการ


    แหล่งอ้างอิงข้อมูลที่ไมโครซอฟต์

  • XOR (Function)

    XOR (Function)

    XOR หรือ Exclusive Or เป็นฟังก์ชัน Logical คล้ายคลึงกับการใช้ OR แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่แตกต่างกันบ้าง เล็กน้อย

    XOR

    XOR(เงื่อนไข1, [เงื่อนไข2],…)

    ก็เหมือนกับ OR นั่นคือ ต้องระบุตรรกะ อย่างน้อย 1 ค่า และจะส่งลัพธ์การทดสอบออกมาเป็น True หรือ False เท่านั้น

    (เราสามารถใช้เงื่อนไขได้ถึง 254 เงื่อนไข)

    อาร์กิวเมนต์จะต้องสามารถหาค่าเป็นค่าตรรกะได้ เช่น TRUE หรือ FALSE หรืออยู่ใน อาร์เรย์ หรือการอ้างอิงที่มีค่าตรรกะ

    ถ้าอาร์กิวเมนต์อาร์เรย์หรืออาร์กิวเมนต์การอ้างอิงเป็นเซลล์ข้อความหรือเซลล์ว่าง ค่าเหล่านั้นจะถูกละเว้นไป

    ถ้าช่วงที่ระบุไม่มีค่าตรรกะ XOR จะส่งผลลัพธ์เป็น #VALUE! (ค่าผิดพลาด)

    OR VS XOR

    ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกับ ฟังก์ชัน OR อย่างมาก แต่ในความเป็นจริง จะมีบางอย่างไม่เหมือนกัน จะยกตัวอย่างดังนี้

    สำหรับ OR นั้น จะให้ผลลัพธ์เป็นจริง (True) แค่มี 1 เงื่อนไขที่เป็นจริงก็พอแล้ว

    แต่ Exclusive Or นั้น ถ้าจำนวนเงื่อนไขที่เป็นจริง (True) เป็นเลขคี่ จะให้ผลลัพธ์เป็น จริง

    ถ้าจำนวนเงื่อนไขที่เป็นจริง (True) เป็นเลขคู่ หรือ จะให้ผลลัพธ์เป็น เท็จ

    อ้าว งง งงละสิ ตอนที่เห็นข้อกำหนดของฟังก์ชันนี้แรก ๆ ก็งงเหมือนกัน

    ก่อนอื่น ดูภาพประกอบก่อน ตัวอย่างนี้สร้างเงื่อนไขมา 4 เงื่อนไข โดยให้ค่า True / False  ตามที่เห็น

    XOR
    ตัวอย่างความแตกต่างระหว่าง OR และ XOR

    ดูที่ลำดับที่ 1 จากเงื่อนไข 4 เงื่อนไข เป็น True ทั้ง 4 เงื่อนไข ถ้าเป็นฟังก์ชัน OR จะเป็น True (เพราะสำหรับ OR แล้ว ถ้ามีเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเป็น True ก็จะเป็น True ทั้งหมด ดังนั้น ในลำดับที่ 1 – 4 ผลลัพธ์ของ OR จะเป็น True ทั้งหมด เพราะมีเงื่อนไขที่เป็น True อย่างน้อย 1 เงื่อนไข

    แต่ในลำดับที่ 1 ถ้าใช้ฟังก์ชัน XOR ก็จะได้ False เพราะว่า จำนวนเงื่อนไขที่เป็นจริง (True) เป็นเลขคู่ (คือ 4 เงื่อนไขเป็น True)เช่นเดียวกับลำดับที่ 3 ซึ่งมี 2 เงื่อนไขเป็น True จึงได้ผลลัพธ์เป็น False

    ในขณะที่ ลำดับที่ 2 และ 4 มีเงื่อนไขที่เป็น True 3 และ 1 เงื่อนไข ซึ่งเป็นจำนวนเงื่อนไขเลขคี่ จึงให้ผลลัพธ์เป็น True

    แล้วการวางลำดับ คู่ คี่ มีไว้ทำไม? แล้วใครจะเป็นคนใช้

    นั่นสิ พอลองค้นหาใน google ก็เห็นว่าไปในทางการเขียนโปรแกรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น

    https://blog.loginradius.com/engineering/how-does-bitwise-xor-work/

    แต่จะเทียบอย่างนี้

    สมมติเหตุการณ์ทดสอบความมีสติของเรา ด้วยสถานการณ์ 3 อย่างคือ

    ฝนตกหรือไม่ / เราอยู่ในบ้านหรือเปล่า / และ เรากางร่มหรือเปล่า

    โดยสรุปผลเป็น “ถูกแล้ว” ถ้าเป็น True และ “บ้าเปล่า?” ถ้าเป็น False

    XOR

    ดูสถานการณ์แรก ฝนตก อยู่ในบ้าน เรากางร่ม ผลลัพธ์ก็จะเป็น “บ้าเปล่า?” ใครจะไปกางร่มในบ้านตอนฝนตก? จริงมั้ยครับ อันนี้ดู make sense หน่อย แต่จะใช้ฟังก์ชันไหนก็ไม่ต่างกัน

    แต่มาดูอีก 2 สถานการณ์

    ฝนตก เราอยู่ในบ้าน โดยไม่กางร่ม ผลลัพธ์ก็จะเป็น “ถูกแล้ว” เราจะไปกางร่มทำไม หรือ เราจะออกนอกบ้านทำไมให้เปียกเปล่า ๆ

    หรือ

    ฝนตก เราอยู่นอกบ้าน กางร่ม ผลลัพธ์ก็จะเป็น “ถูกแล้ว” ถึงจะฝนตก และ อยู่นอกบ้าน แต่อย่างน้อยก็มีร่มกันฝน

    2 สถานการณ์นี้ ถ้าเราใช้ OR จะกลายเป็น “บ้าเปล่า?” เพราะ มีเงื่อนไขหนึ่งเป็น True

    พอเป็นแบบนี้ การใช้ Exclusive Or ก็ดูสมเหตุผลขึ้นมาทันที

  • วันที่ใน excel (DATE)

    วันที่ใน excel (DATE)

    วันที่ – DATE ใน excel เป็นเรื่องจุกจิกมากเวลาทำงานกับไฟล์จากหลายแหล่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องการทำงานกับวันที่ใน Excel ให้ชัดเจน

    (เพิ่มเติม…)
  • Excel Interface

    Excel Interface

    Excel Interface จะเขียนถึง หน้าตาของ Excel ว่าตรงไหนเรียกว่าอะไร และจะใช้ทำอะไรบ้าง

    (เพิ่มเติม…)
  • Excel File Formats: เอ็กเซลสนับสนุนไฟล์ประเภทไหน

    Excel File Formats: เอ็กเซลสนับสนุนไฟล์ประเภทไหน

    Excel File Formats จะกล่าวถึงประเภทของไฟล์ หรือ extension (หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “นามสกุล”) โดยจะเน้นประเภทที่ Excel ยังสนับสนุนให้ใช้งานอยู่

    Microsoft Excel เป็นซอฟต์แวร์สำหรับทำงานในรูปแบบตารางคำนวณ หรือ Spreadsheet คือเอาไปใช้งานคำนวณ กรองข้อมูล หรือ จะสรุปข้อมูลต่าง ๆ ก็ได้ และช่วงหลัง ทางไมโครซอฟต์พัฒนาศักยภาพของซอฟต์แวร์นี้มากขึ้น จนมีคนนำไปใช้ทำเป็น databaseแทน Microsoft Access ก็มี

    (เพิ่มเติม…)