วิธีแยกข้อความใน excel – คำถามง่าย ๆ ที่ไม่รู้จะตอบยังไง อันนี้เป็นเรื่องที่รู้สึกปวดใจอยู่พอสมควร เวลาที่ใครมาถามอะไรสั้น ๆ โดยคาดหวังว่าจะได้รับคำตอบแบบ “ง่าย ๆ” แต่ในความจริงคือ DefExcel ไม่ใช่คนฉลาด ไม่สามารถตอบอะไรแบบนี้ได้โดยไม่เห็นข้อมูลนะจ๊ะ
(เพิ่มเติม…)ป้ายกำกับ: Text
-
ใส่ 0 นำหน้าใน Excel
ใส่ 0 นำหน้าใน Excel ทำอย่างไร? ยากมั้ย? ก่อนจะอ่านต่อไป อาจจะต้องถามกลับว่า แล้วเราจะนำข้อมูลนั้นไปทำอะไร?
เพราะถ้าเป็นเพียงแค่ข้อมูลเฉย ๆ อย่างเช่น หมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งมันจะต้องมี 0 นำหน้า เช่น 0123456789 แบบนี้เป็นต้น ซึ่งในกรณีแบบนี้ไม่จำเป็นต้องนำค่าเหล่านี้ไปคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่อ จึงไม่มีปัญหาหากว่าจะกำหนดรูปแบบเป็นข้อความหรือว่า text (หรือ string แล้วแต่จะเรียก)
ถ้าท่านใช้ Microsoft 365 ที่อัปเดตล่าสุด ท่านอาจจะสังเกตว่า ถ้าพิมพ์เบอร์โทรศัพท์ไปตรง ๆ ก็จะพิมพ์ได้เลย และถ้าสังเกตที่ formula bar จะเห็นว่ามี ฝนทอง หรือ อัญประกาศเดี่ยว (‘) กำกับอยู่ด้านหน้า
แต่ โอเคล่ะ บางทีเรารับข้อมูลจากแหล่งอื่นมา แล้วไม่มีตัวเลข 0 นำหน้ามา เราจะทำอะไรได้บ้าง? เพราะถ้ามีจำนวนข้อมูลมาก ๆ เยอะ ๆ จะมาใส่ฝนทองกำกับด้านหน้าทุกเซลก็คงไม่เข้าที เสียเวลาโดยใช่เหตุ
1. ใส่ 0 นำหน้าใน Excel โดยใช้ &
เริ่มกันด้วยวิธีง่ายที่สุด ใช้เครื่องหมา & นี่แหละ
เครื่องหมาย & ใช้สำหรับเชื่อมข้อความ ซึ่งถ้าเราต้องการนำเลข 0 มาไว้ข้างหน้า เราก็แค่เพิ่ม “0” & ตัวเลขที่ต้องการ
เช่น ตัวอย่าง ในคอลัมน์ A คือตัวเลขที่เราต้องการเติม 0 ด้านหน้า
คอลัมน์ B เราจะใส่สูตรดังนี้
=0&A1
เพียงเท่านี้เราก็ได้ที่มีเลข 0 นำหน้าเสร็จสิ้นเรียบร้อย
โปรดสังเกต เมื่อเราใช้สูตรนี้ จะเรียงชิดขวาโดยอัตโนมัติ หมายความว่าได้กลายเป็น text หรือ ข้อความ หรือ string ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ตัวเลข
2 ใช้ฟังก์ชัน CONCAT
ฟังก์ชัน CONCAT ทำหน้าที่รวมข้อความจากช่วงและ/หรือสตริงหลายเข้าไว้ด้วยกัน
ถ้าเราต้องการเพียงแค่เติม 0 (หรืออะไรก็ตาม) เราอาจจะใช้ฟังก์ชัน CONCAT แบบง่าย ๆ ดังนี้
= CONCAT(0, A1)
วิธีนี้ จะได้เลข 0 นำหน้ามาง่าย ๆ เลย และไม่ต่างจากวิธีแรกแม้แต่น้อย
3 ใช้ฟังก์ชัน CONCATENATE
ฟังก์ชัน CONCATENATE จะเหมือนกับ CONCAT เพราะจริง ๆ มันคือฟังก์ชันเดียวกัน เพียงแค่ CONCAT เป็นเวอร์ชันใหม่ที่ปรับปรุงมาจาก CONCATENATE อีกทีหนึ่ง แต่ตอนนี้ Excel ยังคงให้ใช้ CONCATENATE ได้อยู่ เพราะ Excel เวอร์ชันเก่ากว่า 2016 จะไม่รองรับฟังก์ชัน CONCAT
ถ้าเราต้องการเพียงแค่เติม 0 (หรืออะไรก็ตาม) เราอาจจะใช้ฟังก์ชัน CONCATENATE แบบง่าย ๆ ดังนี้
= CONCATENATE (0, A1)
4 ใช้ฟังก์ชัน TEXT
ฟังก์ชัน TEXT จะใช้งานได้ดีมาก หากเราต้องการเติม 0 ข้างหน้า เพื่อให้มีจำนวนหลักครบตามที่ต้องการ เหมาะสำหรับเวลาเราใช้ตัวเลขแทนรหัสใดใด และรวมถึงการใช้กับเบอร์โทรศัพท์ก็ได้ สมมติว่า เราต้องการ ตัวเลข 9 หลัก เราก็เขียนสูตรดังนี้
= TEXT(A1, “000000000”)
ง่าย ๆ เพียงเท่านี้เอง
ข้อสังเกต! ในสูตรอื่น ๆ เราจะใส่เพียงแค่ 0 โดยไม่มีอัญประกาศ (หรือฟันหนู) ครอบ แต่ในการใช้ฟังก์ชัน text เราจะใช้อัญประกาศครอบนะจ๊ะ
5 ใส่ 0 นำหน้าใน Excel โดยเปลี่ยน NUMBER FORMAT
วิธีที่ง่ายที่สุด ทำไมไม่ใช้ Number Format ที่ Excel เตรียมไว้ให้ล่ะ? ซึ่งจะมีตัวเลือกให้เลือกว่าต้องการผลลัพธ์แบบไหน เช่น
5.1 ต้องการตัวเลข 9 หลัก แบบเดียวกับข้อ 1
เพียงแค่เราคลิกขวา เลือก Format Cells
ที่แท็บ Number ให้เลือก Custom ในเมนูด้านซ้าย
แล้วตรง Type ให้พิมพ์ 000000000 โปรดสังเกตว่าจะเหมือนกับฟังก์ชัน TEXT ไม่แตกต่างกันเลย
กด OK ออกมาดูผลลัพธ์ได้เลย
5.2 ต้องการเติม 0 ด้านหน้า โดยใช้รูปแบบหมายเลขโทรศัพท์ 9 หลัก
ที่แท็บ Number ให้เลือก Special ในเมนูด้านซ้าย
ท่านจะเห็นว่ามีรูปแบบหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน อะไรแบบนี้อยู่
เพียงแค่เราเลือก Phone Number (หรือ เลือกหมายเลขโทรศัพท์ – ถ้าต้องการเลขไทย)
แล้วกด OK ออกมาดูผลลัพธ์
ก็จะมี 0 นำหน้า เพราะขีดขั้นกลางที่ 4 ตัวเลขตามรูปแบบสากล โปรดสังเกตว่า ถ้าใช้วิธีนี้ จะไม่ได้เติม 0 ให้ครบหลักแบบด้านบน
นี่คือ 5 วิธีในการ ใส่ 0 นำหน้าใน Excel
อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Keeping leading zeros and large numbers ที่เว็บไมโครซอฟต์
-
ฟังก์ชัน TRIM
ฟังก์ชัน TRIM เป็นฟังก์ชันที่ช่วยลบช่องว่าง ในช่วงหัวและท้ายออกจากข้อความ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการตัดแต่งข้อมูลเพื่อเตรียมตัวทำงานในขั้นต่อไปได้อย่างดี
Excel เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล แต่บางครั้งข้อมูลที่คุณนำเข้าหรือป้อนอาจมีช่องว่างที่ไม่ต้องการ ซึ่งทำให้การเรียงลำดับหรือการกรองทำได้ยาก แต่ Excel มีฟังก์ชันง่ายๆ ช่วยลบช่องว่างที่ไม่ต้องการเหล่านี้ ฟังก์ชันนี้เรียกว่า TRIM
TRIM คืออะไร?
ถ้าจะให้แปลตรงตัวก็คือ “เล็ม” หรือตัดแต่ง และฟังก์ชั่นนี้ก็ทำหน้าที่ตรงตัวตามความหมายของมัน นั่นคือ “ตัดแต่ง” เพียงแต่เป็นการตัดช่องว่างที่อยู่หน้าหรือหลังข้อความออกไป
อันนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ที่เราเห็นเป็นช่องว่าง แต่ในคอมพิวเตอร์ จะถือว่าเป็น อักขระ ตัวหนึ่ง ช่องว่างก็คือ space charactor
ช่องว่าง หรือ space charactor มีค่าลำดับ ascii = 32 สมมติว่าท่านทำงานโดยใช้ Excel ติดตามชื่อบริษัทลูกค้าและข้อมูลต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาจัดเรียงลำดับเพื่อให้เห็นข้อมูลในภาพกว้าง หรือว่าทำ PivotTable ท่านอาจจะพบปัญหาว่า ชื่อลูกค้าบางรายไม่อยู่ในลำดับหรือกลุ่มที่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่ามีช่องว่างเพิ่มเติมที่ด้านหน้าหรือด้านหลัง
สิ่งนี้เป็นปัญหา เมื่อทำงานด้วยการจัดเรียงข้อมูล หรือว่า จัดกลุ่ม หรือ PivotTable
ตัวอย่างจะเห็นคำว่า Ling มาอยู่ด้านบนเมื่อมีการเรียงลำดับข้อมูล ซึ่งกลายเป็นอันดับแรก เพราะว่ามีช่องว่างอยู่ด้านหน้า แต่การลบช่องว่าง หรือ space นี้ ทำได้ง่ายดายเมื่อท่านใช้ฟังก์ชัน TRIM
วิธีใช้ ฟังก์ชัน TRIM
การใช้ ฟังก์ชันนี้ มีไม่กี่ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1: เลือกเซลล์ที่ท่านต้องการ
ขั้นตอนที่ 2: สร้างอีกคอลัมน์ เพื่อพิมพ์สูตรฟังก์ชัน
ไวยากรณ์ของฟังก์ชัน TRIM เป็นดังนี้:
=TRIM(ข้อความ)
อาร์กิวเมนต์ “ข้อความ” คือการอ้างอิงเซลล์หรือสตริงข้อความที่คุณต้องการตัดแต่ง
จากตัวอย่าง เราเพียงแค่เลือกคอลัมน์ที่มีชื่อลูกค้า สมมติว่า ชื่อลูกค้าอยู่ในคอลัมน์ C ในคอลัมน์ใหม่ ให้พิมพ์สูตร
=TRIM(C2)
ขั้นตอนที่ 3: กด Enter เพื่อให้ฟังก์ชันทำงาน Excel จะลบช่องว่างเพิ่มเติมที่จุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของชื่อลูกค้าแต่ละราย
คัดลอกสูตรลงไปเพื่อใช้กับชื่อลูกค้าทั้งหมดในคอลัมน์
เมื่อลบช่องว่างเพิ่มเติมทั้งหมดแล้ว สามารถใช้ชื่อลูกค้าที่ล้างข้อมูลเพื่อไปทำงานอื่น ๆ เช่น สรุปผลการทำงาน หรือวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
อย่าลืมว่าฟังก์ชันนี้ จะลบเฉพาะช่องว่างด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น หากข้อความของท่านมีช่องว่างพิเศษระหว่างคำที่ต้องการลบออก อาจจะต้องใช้ผสมผสานกับฟังก์ชันอื่น เช่นฟังก์ชัน SUBSTITUTE เพื่อช่วยจัดการ
-
CHAR Function
CHAR Function ใช้เพื่อส่งกลับอักขระที่ระบุด้วยตัวเลข ซึ่งบางครั้ง เวลาทำงานกับไฟล์จากแหล่งอื่น หรือจากซอฟต์แวร์ต่างประเภท เราอาจจะได้รับ รหัสตัวเลขที่ต้องมาถอดให้เป็นอักขระ โดยใช้ค่า ASCII เป็นตัวเลขอินพุตและให้อักขระที่กำหนดใน ASCII นั้นเป็นเอาต์พุต
(เพิ่มเติม…) -
INDIRECT ฟังก์ชันเปลี่ยนข้อความเป็นการอ้างอิง
INDIRECT เป็นฟังก์ชันที่ดู “งง ๆ” อย่างหนึ่ง คือ โดยตัวมันเองเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนข้อความให้เป็นตัวอ้างอิง คือ จะเป็นตัวบอกว่า ให้ไปดูที่ เซลล์ หรือว่า ช่วง ไหนหรือ ชีต ไหน เป็นฟังก์ชันที่ตอนรู้จักแรก ๆ ก็ออกจะงงอยู่ว่าเจ้าฟังก์ชันนี้มันใช้ทำอะไรกันแน่ ทำไมไม่อ้างอิงไปตรง ๆ เลย ต้องมาอ้างอิงแบบอ้อมผ่านเจ้าฟังก์ชันนี้ทำไม
(เพิ่มเติม…) -
ฟังก์ชันค้นหา Find-Search
ฟังก์ชันค้นหา Find – Search เป็นฟังก์ชันสำหรับค้นหา ข้อความ หรือ อักขระ ที่ต้องการ จาก ข้อความต่าง ๆ โดยจะส่งผลลัพธ์เป็นตำแหน่งของข้อความหรืออักขระนั้น (เช่น 1 2 3 4…) ทั้ง Find และ Search มีไวยากรณ์การเขียนเหมือนกัน ใช้งานเหมือนกัน แต่มีบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน
(เพิ่มเติม…) -
Text to Columns – ข้อความเป็นคอลัมน์แค่ 3 สเต็ป
Text to Columns เป็นเครื่องมือที่ใช้แยกข้อความ ใน 1 คอลัมน์ ออกไปหลายคอลัมน์ เพียงแค่มีแพตเทิร์น หรือ รูปแบบที่ชัดเจนสำหรับใช้เป็นตัวแบ่งคอลัมน์
(เพิ่มเติม…)