ป้ายกำกับ: Math

  • เปลี่ยนตารางเมตร เป็น ไร่ งาน ตารางวา ใน Excel

    เปลี่ยนตารางเมตร เป็น ไร่ งาน ตารางวา ใน Excel

    เปลี่ยนตารางเมตร เป็น ไร่ งาน ตารางวา เป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่ยากนัก เพราะโชคดีอยู่อย่างหนึ่งคือระยะวากับเมตรแปลงได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเลขลงตัว คือ สองเมตรเป็นหนึ่งวา ก็เลยคำนวณกันง่ายหน่อย

    หมายเหตุ เนื่องจากปูพื้นยาวไปหน่อย คนที่จะดูสูตรเอ็กเซล คลิกไปดูข้างล่างนู่นเลยจ้ะ

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชัน TRUNC

    ฟังก์ชัน TRUNC

    ฟังก์ชัน TRUNC เป็นฟังก์ชันคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel โดยจะลบส่วนที่เป็นเศษส่วนของตัวเลขออก และส่งกลับตัวเลขจำนวนเต็ม 

    ใช้ได้ตั้งแต่ ไมโครซอฟต์ Excel 2007 เป็นต้นมา

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชัน INT

    ฟังก์ชัน INT

    ฟังก์ชัน INT (หรือ integer) เป็นฟังก์ชันคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติในเอ็กเซล ที่จะส่งกลับจำนวนเต็มของตัวเลขที่กำหนด โดยปัดเศษทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็ม ซึ่งจะเป็นการปัดเศษลง 

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชันนับ ประเภทต่าง ๆ Count Counta Countblank

    ฟังก์ชันนับ ประเภทต่าง ๆ Count Counta Countblank

    ฟังก์ชันนับ มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น COUNT / COUNTA / COUNTBLANK ทั้ง 3 ฟังก์ชัน ใช้สำหรับการนับจำนวนเซลล์ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยว่าจะ “นับอะไร” แค่นั้น

    ฟังก์ชันนับ COUNT

    COUNT เป็นฟังก์ชันตามชื่อของฟังก์ชันนี้เลย คือ “นับ” เมื่อใช้ฟังก์ชัน COUNTจะเป็นการจำนวนเซลล์ เป็นฟังก์ชันง่าย ๆ และเป็นฟังก์ชันพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับ Excel

    สำหรับการใช้ฟังก์ชัน Count เราเขียนสูตรง่าย ๆ ดังนี้

    COUNT  (ตัวเลข1, ตัวเลข2,...)

    สิ่งที่ต้องรู้ก่อนก็คือ Count จะเป็นฟังก์ชันที่นับจำนวนเซลล์ที่มีค่าเป็นตัวเลขเท่านั้น จะไม่นับที่เป็นข้อความ หรือเซลล์ที่ว่างไม่มีค่าเป็นตัวเลข

    ตัวอย่างเช่น ในเซลล์ A1 ถึง A9 เรากำหนดค่าไว้ดังนี้ 1 | 2 | 22/12/2022 | 4 | ว่าง | SIX | 7 | ‘8 | 9

    เมื่อเราเขียนสูตรเพื่อนับจำนวน A1 ถึง A9 จะเขียนแบบนี้

    COUNT(A1:A9)
    ฟังก์ชันนับ

    และจะได้ผลลัพธ์เป็น 6 

    นั่นคือนับเฉพาะ 1 | 22/12/2022 | 0 | 4 | 7 | 9 เท่านั้น

    มาดูที่ A2 เป็นวันที่ แต่นับด้วย เพราะ อย่าลืมว่า การจัดเก็บวันที่ของ Excel จัดเก็บตัวเลข 

    A5 ไม่ใส่ค่าใดใด จึงไม่นับ

    A6 เป็นข้อความ ไม่นับ

    A8 เป็นตัวเลขที่ใส่ ‘ นำหน้าเพื่อบังคับเป็น Text หรือ ข้อความ จึงไม่นับ

    A9 เป็นตัวเลขที่จัดรูปแบบเป็น text หรือข้อความ นับ

    สรุปง่าย ๆ ก็คือ

    จะนับเซลล์ที่มีค่าที่แปลงเป็นตัวเลขได้ เท่านั้น จึงนับรวม วันที่ หรือ การจัดรูปแบบ ด้วย

    หากต้องการนับค่าตรรกะ ข้อความ หรือค่าความผิดพลาด นอกเหนือจากตัวเลขด้วย ให้ใช้ฟังก์ชัน COUNTA

    COUNTA

    COUNTA เป็นฟังก์ชันแบบเดียวกับ COUNT เพียงแต่นับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเลขด้วย วิธีการเขียนสูตรก็เหมือนกัน คือ

    COUNTA (ตัวเลข1, ตัวเลข2,...)

    จากตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนจาก COUNT เป็น COUNTA 

    COUNTA(A1:A9)
    ฟังก์ชันนับ

    ผลลัพธ์จะเป็น 8 นั่นคือ เซลล์ที่มีค่าจะนับทั้งหมด มีเพียง A5 ที่ไม่ใส่ค่าใดใด จึงไม่นับเซลล์นี้

    ความแตกต่างของ COUNT กับ COUNTA อยู่ที่ COUNT จะนับเฉพาะเซลล์ที่เก็บค่าที่เป็นตัวเลข ส่วน COUNTA จะนับเซลล์ที่เก็บทุกค่า ยกเว้นเซลล์นั้นเป็นเซลล์ที่ไม่ได้ใส่ค่าใดใดลงไป

    ถ้าอยากให้นับเซลล์ว่าง ต้องใช้ COUNTBLANK

    COUNTBLANK

     ฟังก์ชัน COUNTBLANK ก็ตามชื่อเลย เป็นการนับเซลล์ว่าง วิธีการเขียนสูตรโดยใช้ฟังก์ชันนี้ ก็เหมือนกับ COUNT นั่นคือ

    COUNTBLANK (ช่วงข้อมูล)

    อย่างเช่นตัวอย่างเดิม เราจะนับจำนวนเซลล์ที่ไม่ใส่ค่าใดใดเลย จะเขียนสูตรว่า 

    COUNTBLANK (A1:A9)

    ผลลัพธ์จะได้เป็น 1 คือมีค่าว่าง อยู่เพียง 1 เซลล์

    ทั้งนี้ ค่าที่เป็น 0 ถือว่ามี “ค่า” จะไม่โดนนับไปด้วย


  • ABS ฟังก์ชันหาค่าสัมบูรณ์

    ABS ฟังก์ชันหาค่าสัมบูรณ์

    ABS ไม่ใช่ระบบเบรค แต่ย่อมาจาก ABSOLUTE เป็นฟังก์ชันใน Excel สำหรับส่งกลับค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข หรือพูดง่าย ๆ ทำค่าติดลบให้กลายเป็นค่าบวกนั่นเอง

    (เพิ่มเติม…)
  • ฟังก์ชัน SUMIF / SUMIFS

    ฟังก์ชัน SUMIF / SUMIFS

    ฟังก์ชัน SUMIF และ SUMIFS เป็นฟังก์ชันคำนวณผลรวมแบบมีเงื่อนไข อย่างเช่น ในกลุ่มข้อมูล อาจจะมีชื่อผลไม้ กับปริมาณ เราอาจจะอยาก รวมจำนวนของผลไม้ประเภทใดประเภทหนึ่ง เราก็ใช้ SUMIF เพื่อคำนวณผลรวมได้ ความแตกต่างระหว่าง 2 ฟังก์ชันนี้คือ ถ้าเป็น SUMIF จะตั้งเงื่อนไขได้เพียงแค่เงื่อนไขเดียว แต่ถ้าเป็น SUMIFS จะตั้งเงื่อนไขได้มากกว่า 1 เงื่อนไข

    ก่อนอื่น เรามาเรียนรู้ไวยากรณ์หรือว่า องค์ประกอบของฟังก์ชันว่ามีอะไรบ้าง

    ฟังก์ชัน SUMIF สำหรับเงื่อนไขเดียว

    ถ้าการคำนวณมีเพียงเงื่อนไขเดียว ใช้ SUMIF ได้ ฟังก์ชัน SUMIF มีองค์ประกอบ (argument) เพียงแค่ 3 ส่วน คือ 

    SUMIF(ช่วง, เงื่อนไข, [ช่วงที่ใช้คำนวณ])

    ช่วง คือ ช่วงของเซลล์ที่จะใช้เป็นตัวหาเงื่อนไข (และ-ใช้เป็นช่วงสำหรับคำนวณผลรวม ถ้าไม่กำหนด “ช่วงที่รวม”) เซลล์ในช่วงต้องเป็น ตัวเลข หรือ ชื่อ หรือการอ้างอิงที่มีตัวเลขอยู่ 

    ถ้ามี ค่าว่าง หรือเป็น ข้อความ จะไม่นำมาคำนวณด้วย ช่วงที่เลือกอาจมีวันที่ในรูปแบบ Excel มาตรฐาน 

    เงื่อนไข เกณฑ์ในรูปแบบตัวเลข นิพจน์ การอ้างอิงเซลล์ ข้อความ หรือฟังก์ชันที่กําหนด โดยจะใช้ตัวอักขระพิเศษ เช่น ? หรือ * ในเงื่อนไขได้

    ถ้าเป็นข้อความที่มีสัญลักษณ์ทางตรรกะหรือคณิตศาสตร์ต้องอยู่ภายในเครื่องหมายอัญประกาศ

    อักขระตัวแทน เช่น ปรัศนี หรือ เครื่องหมายคำถาม -(?) ที่เราใช้เป็น wildcard กับ เครื่องหมายดอกจัน (*)  เหล่านี้ ถ้าต้องการใช้ค้นหาเครื่องหมายเหล่านี้จริง ๆ ต้องใช้ เครื่องหมายตัวหนอน (~) ไว้หน้าอักขระ

    [ช่วงที่คำนวณ] จะเป็นช่วงเซลล์ที่จะนำมาคำนวณ ในกรณีที่จะใช้คนละช่วงกับ “ช่วง” ถ้าไม่กำหนดส่วนนี้ จะคำนวณจาก “ช่วง”

    ตัวอย่าง 1

    สมมติว่าเรามีข้มูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เดือนมกราคม-ตุลาคม 2565) 

    ฟังก์ชัน SUMIF / SUMIFS

    ที่มา https://data.go.th/dataset/export2564

    สมมติว่า เราต้องการรวมมูลค่าการส่งออก เฉพาะธุรกิจขนาด M

    =SUMIF(A2:A4991,"M",B2:B4991)

    คอลัมน์ A คือ ขนาดธุรกิจ ( L M S หรือ Macro)

    คอลัมน์ B คือ มูลค่าของธุรกิจ หน่วยเป็นบาท

    ตัวอย่าง 2

    สมมติว่า เราต้องการเฉพาะ มูลค่าของธุรกิจ ที่มากกว่า 5,000,000

    =SUMIF(B2:B4991,">50000000")
    SUMIF

    ฟังก์ชัน SUMIFS สำหรับหลายเงื่อนไข

    SUMIFS เป็นฟังก์ชันที่พัฒนามาจาก SUMIF โดยขยายขีดความสามารถให้ค้นหาจากเงื่อนไขได้มากกว่า 1 เงื่อนไข ซึ่งไวยากรณ์เป็นดังนี้

    SUMIFS(ช่วงที่ใช้คำนวณ, ช่วงของเงื่อนไข1, เงื่อนไข1, [ช่วงของเงื่อนไข2, เงื่อนไข2], ...)

    ตัวอย่าง 3 

    สมมติว่า เราต้องการมูลค่ารวมของธุรกิจขอนาด M และมีมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 5,000,000

    =SUMIFS(B2:B4991,A2:A4991,"M",B2:B4991,">50000000")
    SUMIFS

    อ่านเพิ่มเติม การใช้ฟังก์ชัน SUM

  • ฟังก์ชัน SUM สำหรับการรวมหรือการบวก

    ฟังก์ชัน SUM สำหรับการรวมหรือการบวก

    ฟังก์ชัน SUM เป็นฟังก์ชันสำหรับการ “รวม” หรือ บวก นั่นเอง เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันพื้นฐานที่ใครก็ต้องใช้

    (เพิ่มเติม…)